Pancake Swap สอนการใช้งานเบื้องต้น สำหรับเพื่อนๆที่เริ่มต้นทำ Yield Farming
Pancake Swap คือ Decentralized Exchange ที่ให้เรา Swap เหรียญ Cryptocurrency รวมถึง ทำ Liquidity provider & Yield Farming บน Network บล็อคเชนของ Binance Smart Chain (BSC)
ก่อนที่จะใช้งาน Pancake Swap ได้นั้นเราจะต้องทำการ ติดตั้ง Meta mask และ เปลี่ยน Network จาก Ethereum เป็น ฺBinance Smart Chain ก่อนนะครับ
ก่อนอื่นให้เราไปที่ Pancake Swap ที่ URL นี้นะครับ https://pancakeswap.finance/ การเข้าใช้งานตรงนี้ให้เราระมัดระวังให้มากนะอย่าเผลอเข้าเว็บ phishing ที่มีคนหลอกลวงให้เข้าเป็นอันขาดนะครับ
เมื่อเข้ามาแล้วอันดับแรกก็ทำการ Connect Wallet กับ Meta mask ของเราก่อนนะครับ มาดูวิธีการใช้งานหน้าจอต่างๆบน Pancake Swap กันเลยครับ
1. การ Swap เหรียญบน Pancake Swap
การ Swap เหรียญถือเป็น บริการพื้นฐานที่ Decentralized Exchange แนว AMM (Automated Market Maker ) จะต้องมีนะครับนั่นคือการที่เปิดให้เราสามารถ Swap เหรียญได้ทันทีในราคาที่ดีที่สุด ณ ตอนนั้นซึ่งแน่นอนการจะได้ราคาที่ดีมากน้อยแค่ใหนก็ขึ้นอยู่กับ สภาพคล่อง (liquidity pool) ของคู่เหรียญที่เรา Swap ด้วยนะครับยิ่งมีจำนวนเหรียญใน Pool สูงความ stable ของราคาก็จะมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
วิธีการใช้งานไม่ยากครับไปที่เมนู Trade แล้วเลือก Exchange จากนั้นไปที่ Tab Swap แล้วก็เลือกคู่เหรียญที่เราต้องการ Swap ได้เลย
2. การสร้าง liquidity provider บน Pancake Swap
ในเมื่อการ Swap เหรียญเป็นหัวใจของ AMM Decentralized Exchange การมีเหรียญใน Pool เยอะเพื่อให้รองรับการ Swap ในปริมาณมากๆ ได้นั้นก็ยิ่งทำให้ Pancake Swap มีความ Stable ของราคามากตามไปด้วย และการที่จะได้มาซึ่ง Liquidity Pool เยอะๆ นั้นแน่นอนเค้าก็เปิดให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถเข้าไปวาง Liquidity Pool ได้โดยที่ไม่ได้วางฟรีๆ นะ เราจะได้รับส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมในการ เทรดด้วย นั่นก็คือเมื่อมีคนมาทำการ Swap เหรียญในคู่ที่เราเป็น liquidity provider เราก็จะได้ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนของ Pool ที่เรามีนั่นเอง แต่การวางเหรียญไว้ใน Liquidity Pool นั่นก็มีความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคานะครับ เมื่อราคาเหรียญใน Pool ไม่นิ่งจะทำให้เกิด Impermanent loss และมูลค่าของเหรียญใน Pool เราจะลดลงซึ่งเราก็คงต้องดูความเสี่ยงตรงนี้ด้วยนะครับว่าค่าธรรมเนียมที่ได้มานั้นคุ้มค่ากันหรือเปล่า
การทำ Liquidity Pool บน Pancake Swap ให้ไปที่เมนู Liquidity แล้วกด Add Liquidity ครับ
โดยก่อนที่เราจะทำการ Add Liquidity Pool นั้นเราจะต้องเตรียม เหรียญไว้อย่างละครึ่งนะครับ
ยกตัวอย่างถ้าจะ Add Pool คู่ MIR กับ UST เราต้องมี MIR กับ UST ที่มูลค่าเท่ากันทั้งสองฝั่งครับ
หากยังไม่มีเหรียญครบทั้งสองฝั่งเราก็ต้องไปทำการ Swap คำณวนให้ได้อย่างละครึ่งให้เรียบร้อยนะจากนั้นก็เลือกคู่เหรียญแล้วกด Supply ได้เลย
3. การทำ Farm บน Pancake Swap
การทำ Farm นี่ถือว่าเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าแปลกใหม่มากในโลก Defi นะครับเพราะมันคือการเพิ่มแรงจูงใจให้เรามาเพิ่ม Liquidity Pool หรือสภาพคล่องให้กับ Pancake Swap นั่นเองอย่างที่บอกไปก่อนนั้นนะครับว่าการวาง Liquidity Pool นั้นเราจะมีความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคาทำให้เกิด Impermanent loss
จนบางครั้งค่าธรรมเนียมการเทรดที่เราได้มานั้นแทบจะไม่คุ้มค่ากับการที่มูลค่าของเหรียญใน Pool เราลดลงดังนั้น Pancake Swap จึงได้ทำการสร้างเหรียญ Governance Token ของตัวเองขึ้นมาชื่อว่าเหรียญ CAKE ซึ่งจะเอามาแจกเพิ่มเติมให้กับคนที่วาง Liquidity Pool นั่นเอง
เพียงเท่านี้เราก็จะได้รับ เหรียญ CAKE เป็นรางวัลนำไปขายหรือสะสมไว้ทำ Pool ต่อได้ครับ
4. การทำ Pools บน Pancake Swap
Pancake Swap มีจุดเด่นอยู่อีกอย่างคือ เราสามารถเอาเหรียญ CAKE ที่ได้จากการทำฟาร์มมา Stake ต่อเพื่อรับ Reward เพิ่มได้อีก โดยจะมีเหรียญที่ทางทีมงาน Pancake Swap ได้มาจำนวนหนึ่ง แล้วเอามาแจกต่อให้คนที่ถือเหรียญ CAKE ได้ฟาร์มกัน
การทำ Pool นี้ถือเป็นจุดแข็งของ Pancake Swap เลยนะเพราะว่าถือว่าเป็นการรักษาความ stable ของราคาเหรียญ CAKE ได้ดีมากแทนที่คน Farm ได้จะเทขาย 100% ก็ยังมีคนอีกส่วนที่ไม่ขายทิ้งแต่เอามาลง Pool เพื่อรับ Reward ได้อีกขั้นครับ
สุดท้ายนี้ต้องบอกว่าบทความนี้เป็นการนำเสนอวิธีการใช้งาน Pancake Swap เท่านั้นนะครับส่วนใครที่สนใจจะไปใช้งานยังไงก็ศึกษาความเสี่ยงต่างๆให้ดีก่อนนะ การลงทุนมีความเสี่ยงยิ่งเป็นการลงทุนใน Cryptocurrency โดยเฉพาะ Decentralized finance หรือ Defi นั้นยังเป็นเรื่องที่ใหม่มาก โครงการดีๆ มีมากมาย โครงการหลอกลวงก็เยอะ เพื่อนๆต้องศึกษาให้ดีก่อนจะเริ่มลงทุนนะครับ ที่สำคัญเสี่ยงได้เท่าที่รับได้นะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น